วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แผนฉุกเฉินสำหรับสถานศึกษา

แผนฉุกเฉินสำหรับสถานศึกษา ฉบับวันที่ 21 เมษายน 2549  แก้ไขเพิ่มเติม19 ตุลาคม 2556                                                       
        แผนฉุกเฉินกับเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดในสถานศึกษาที่มีเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ แต่แทบจะทุกครั้งไม่สามารถแก้ไขเหตุได้อย่างถูกต้องทันท่วงที เพราะว่า ไม่มีแผน เราเตรียมตัวไม่ดี ไม่มีการซ้อมแผน การติดตาม งาน ขาดความใส่ใจ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเวลาที่เราจะต้องให้ความสำคัญโดยเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัวโรงเรียน สถานประกอบการ จังหวัด ประเทศ หากว่าทำอย่างสม่ำเสมอก็จะลดความสูญเสียได้อย่างมาก
               แผนมีไว้สำหรับ แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ไม่มีแผนใด ใช้งานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์  กรุณาจำไว้ว่า
เขียนแผน ฝึกแผน แก้แผน ปรับปรุงแผน ฝึกแผน ให้กับทุกคนรับรู้รับทราบ หากว่านำแผนนี้ไปใช้ก็สามารถแก้ไข ปรับ ปรุงได้ตามสภาพความเหมาะสมของแต่ละสภาพภูมิประเทศ
 แปล เขียน เรียบเรียง โดย ชาติชาย ไทยกล้า
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ- อนุกรรมการ กปอ.สารเคมี, อาคารเคหสถาน, สวัสดิศึกษา
-
ที่ปรึกษา คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ     
- ที่ปรึกษาการเขียนแผนฉุกเฉินชาติ ฉบับ 2548 – 2549 และปัจจุบัน                                                                                   
-
ผู้อำนวยการสถาบันฝึกดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง
- ครูฝึกดับเพลิงกู้ภัย สหรัฐฯ NFPA การขนส่งทางบก ทางเรือ อากาศยาน - ผู้เชี่ยวชาญการตอบโต้เหตุ ฉุกเฉินที่เกิดจากการก่อการร้าย NBC
- ครูฝึกการดับเพลิง การปฏิบัติการกู้ภัยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ - ครูฝึกผู้ให้การรับรองวิทยฐานะเรื่องความปลอดภัย สถาบันการศึกษาด้านปิโตรเลียม  (Petroleum Education Council  Core Compliance)และการดับเพลิงคลังน้ำมัน แท่นขุดเจาะกลุ่มบริษัทน้ำมัน
                  
เอกสาร ข้อมูลอ้างอิง   NFPA Handbook , Emergency plans
                      USA NZ UK
คำแนะนำ ข้อสงสัยแผน กรุณาติดต่อมาที่  admin@thaifire.com รายละเอียดเพิ่มเติม ที่      www.thaifire.com
การอพยพหนีภัย
โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์ นำแผนนี้ไปใช้ เตรียมอพยพห่วงสถานการณ์หลังศาลโลกตัดสินกรณีเขาพระวิหารในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556


วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันเปิด ปิด ภาคเรียน ตามมติ ครม.

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการพิจารณาของที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 เรื่อง ข้อสรุปของการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ทุกสังก...ัด
โดย ศธ.จึงมีมติไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน หมายความว่า จะให้มีการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม คือ ภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 16 พฤษภาคม-11 ตุลาคม และภาคเรียนที่ 2 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน-1 เมษายน
ที่มา : -->
http://www.moe.go.th/websm/2013/oct/338.html
ดูเพิ่มเติม
 

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุ

สพป.ศรีสะเกษ เขต4 :บรรจุครูผู้ช่วย 21 อัตรา
อังกฤษ ปฐมวัย คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ เอกละ 4 อัตรา
ศิลป 3 อัตรา ภาษาไทย 2 อัตรา

สำหรับวันรายงานตัวและเลือกโรงเรียน:วันประชุม อ.ก.ค.ศ.ไม่ได้กำหนด แต่โดยหลักการนับไปอีก 15 วัน น่าจะเป็น 25 ตค. แต่เพื่อความแน่นอนรอวันจันทร์นะครับหรือรอหนังสือจากเขต เผือติดขัดอะไร อาจเลื่อนเข้าหรือเลื่อนออก เพราะ 25 ตค.ก็ประชุมย้ายผู้บริหารครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

• วิกฤต "เรือจ้าง" ไทย หนักทั้ง "ปริมาณ" และ "คุณภาพ" ?

• วิกฤต "เรือจ้าง" ไทย หนักทั้ง "ปริมาณ" และ "คุณภาพ" ?+โพสต์เมื่อวันที่ : 29 ส.ค. 2556
.....
ไม่น่าเชื่อ!!!
คือความรู้สึกที่เกิดขึ้น หลังจากได้ทราบข้อมูลและตัวเลขที่น่าตกใจต่อไปนี้

"อีก 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา จากข้อมูลพบว่า ระหว่างปี 2556-2560 จะมีครูเกษียณข้าราชการมากถึง 104,108 คน ซึ่งหากรวมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยข้อมูลล่าสุดในปี 2555 พบว่าขาดแคลนครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อาทิ ภาษาต่างประเทศ 7,444 คน คณิตศาสตร์ 7,248 ภาษาไทย 6,324 รวมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ แล้ว...

"ในตอนนี้ประเทศไทยกำลังขาคแคลนครู มากกว่า 51,462 อัตรา"
เป็นวิกฤตของ "ครู" ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพที่ถือว่าเป็น "ผู้สร้างคน"

เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ พาเด็กไปถึงฝั่งฝันดังที่มีคนเปรียบว่าดุจดัง "เรือจ้าง" ส่งคนจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีครูผู้สอนสั่ง คงไม่มีหมอ พยาบาล ทหาร ตำรวจ และอาชีพอื่นๆ หรือแม้แต่นักการเมืองที่กำลังถกเถียงกันอย่างหน้าดำคร่ำเคร่งอยู่ในสภาขณะนี้

ปัญหาขาดแคลนครูทำให้เจ้ากระทรวงอย่างจาตุรนต์ฉายแสงรมว.ศึกษาธิการ ต้องเรียก เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ รัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าหารืออย่างเร่งด่วน

ในระหว่างที่ฝ่ายบริหารหัวเรือใหญ่กำลังใช้ความคิดเพื่อหาแนวทางอื่นๆ หน่วยงานที่รองลงมาต่างไม่ได้นิ่งเฉยกับปัญหา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปรียบเป็นดั่งโรงงานผลิตครูอย่างเป็นทางการ ต่างพยายามหาทางแก้ปัญหานี้เช่นกัน

รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้เล่าให้ฟังว่า ทางจุฬาฯไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเราเป็นเหมือนกับต้นทางของการผลิตครูออกไปสู่ท้องตลาด เมื่อประสบกับปัญหาการขาดแคลน ทางเราก็พยายามช่วยแก้โดยเพิ่มโควต้าครูในแต่ละหลักสูตรสาระวิชาที่ขาดให้เพิ่มมากขึ้น สร้างบุคลากรครูให้มากขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเต็มความสามารถ

แต่หนึ่งในประโยคที่ รศ.ดร.ชนิตาได้กล่าวว่า "ทุกปีจำนวนนักศึกษาครูที่ได้เข้ามาศึกษาเต็มโควต้าที่ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดเอาไว้"

แต่เหตุใดประเทศไทยจึงต้องเผชิญกับปัญหา "ขาดครู" เป็นประเด็นที่น่านำไปคิดต่อ

เข้าอู่ต่อเรือใช้เวลาสร้าง 4 ปี จนครบจำนวน แต่ "เรือจ้าง" ไทยหายไปอยู่ไหนหมด?

และไม่เพียงแต่โรงเรียนรัฐเท่านั้น แต่โรงเรียนเอกชนก็ต้องเผชิญปัญหาเดียวกัน ดังที่ อ.โสภณ สกุลเรือง หรือ "มาสเตอร์เปิ้ล" ครูโรงเรียนเอกชนชื่อดังอย่างอัสสัมชัญได้สะท้อนให้ฟังว่า ตอนนี้ครูที่มาสมัครใหม่ในโรงเรียนนั้นน้อยลงกว่าแต่ก่อน เพราะเด็กปัจจุบันให้ความสนใจในสายอาชีพครูน้อยลง เด็กในโรงเรียนที่จบออกไปก็น้อยคนนักที่จะเลือกเรียน

"อาชีพครูเป็นเหมือนทางเลือกสุดท้ายในการตัดสินใจ รวมถึงสวัสดิการต่างๆ หรือค่าตอบแทนของครูจะค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสายอาชีพอื่นๆ รวมถึงนโยบายของรัฐที่ส่งผลให้ครูเอกชนลดลง เพราะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลบุพการีได้เหมือนแต่ก่อน รวมไปถึงเป็นอาชีพที่ต้องดูแล มีภาระที่หนักต้องดูแลชีวิตของคน แต่กลับมีค่าตอบแทนที่น้อย จึงพบกับปัญหาขาดแคลนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน"

ดังนั้น ทางแก้หนึ่งที่ครูจากโรงเรียนเอกชนชื่อดังพอมองเห็นก็คือ รัฐควรสนับสนุนให้อาชีพครูมีความมั่นคงขึ้น อาทิ เพิ่มสวัสดิการด้านต่างๆ เช่น ไม่สบายก็เบิกค่ารักษาพยาบาลมากกว่านี้ มีสวัสดิการดูแล พ่อแม่ ลูกหลาน ในอนาคต ทั้งของรัฐและเอกชน

เพราะเรื่อง "เงินทอง" และ "ความมั่นคง" ในชีวิต ก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้คนตัดสินใจจะก้าวเดินบนสายวิชาชีพ "ครู"
นอกจากเรื่อง "ปริมาณ" แล้ว "คุณภาพ" ของครูก็เป็นปัญหาด้วยเช่นกัน

จากการประชุม World Economic Forum 2012-2013 พบว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยจัดอยู่ในอันดับ 6 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน ตามหลังเวียดนาม ขณะที่ระดับมัธยมและอุดมศึกษาอยู่อันดับ 8 ตามหลังกัมพูชาและฟิลิปปินส์

และอาจเป็นเพราะเหตุนี้เอง ที่ทำให้ภาคเอกชนอย่าง ศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน "EDUCA 2013" มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู เริ่มต้นจัดงานเพื่อเพิ่มคุณภาพครู

เชิญวิทยากรด้านการศึกษาที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศมาช่วยอบรมครูไทยที่สมัครใจเพราะครูเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการศึกษา

พร้อมกันนี้ศีลชัยได้ยกตัวอย่างงานวิจัยของแฮรรี่ เค. หว่อง เรื่อง "There is only one way to improve student achivement" ซึ่งแปลได้ทำนองว่า หนทางเดียวที่จะพัฒนาคุณภาพนักเรียน ได้บ่งชี้ว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการคือครู

"จากงานวิจัยพบว่า ไม่ว่าจะลงทุนหรือเพิ่มปัจจัยในด้านใดก็ตามในเรื่องการศึกษา จะไม่สามารถเพิ่มคุณภาพการศึกษาได้ กราฟคุณภาพเด็กนักเรียนไม่กระเตื้อง แต่หากนำครูที่เก่งเข้าไปอยู่ชั้นเรียน กราฟคุณภาพการศึกษาของเด็กกลับพุ่งขึ้นสูงกว่าลิบลับ ชนิดไม่ต้องลงทุน" ศีลชัยกล่าว

อีกเรื่องที่สะท้อนการให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูของชาวต่างชาติ

ซึ่งได้รับการเปิดเผยจาก วิเวก้า ฮาจมาร์ค (Viveca Hagmark) นักเคลื่อนไหวในประเด็นเรื่องการศึกษาชาวฟินแลนด์ ประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีระดับ 1 ใน 3 ของโลก บอกว่า สำหรับหลักสูตรของผู้ที่จะเรียนจบออกมาเป็นครูที่ฟินแลนด์นั้น ต้องใช้เวลาเรียนถึง 6 ปี แถมคนที่อยากเป็นครู คือเด็กนักเรียนระดับหัวกะทิอันดับ 1-5 ของประเทศ

เป็นสถานการณ์ที่กลับกันกับในบ้านเรา


"ครูในประเทศฟินแลนด์มีทั้งปริมาณที่เหมาะ คุณภาพที่ดี อีกทั้งจำนวนเด็กนักเรียนในห้องมีไม่เกิน 20 คนต่อห้อง ใส่ใจได้อย่างทั่วถึง เด็กจบมาแต่ละรุ่นต่างอยากกลับมาเป็นครู รับไม้และส่งต่อ หมุนเวียนเป็นวงจรสร้างคนต่อไปไม่สิ้นสุด" นักเคลื่อนไหวการศึกษาชาวฟินแลนด์กล่าว

เป็นเรื่องร้อนที่ผู้คนในแวดวงการศึกษาทั้งหลายต้องเร่งแก้

ทั้ง "ปริมาณ" ครูที่ขาดแคลน และ "คุณภาพ" ครูที่ต้องเข้มข้นกว่าที่เป็นอยู่

และต้องไม่ลืมว่านี่คือ "อาชีพ" ที่จะสร้างคนเพื่อมาพัฒนาประเทศชาติ

เผยแนวทางแก้ปัญหาครูขาดแคลน

ผลสรุปได้แนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตครู ซึ่ง ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แถลงข่าวในวันที่เป็นประเด็นร้อนว่า ได้ใช้สูตร "สำเร็จรูป" คือ ขยายเวลาปฏิบัติราชการครูในสาขาที่ขาดแคลนออกไปจนถึงอายุ 65 ปี ที่เคยใช้แก้ปัญหาการขาดครูในระดับอุดมศึกษาจนได้ผล จึงได้นำมาใช้กับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา

"แต่ถึงอย่างไรที่ประชุมก็ยังไม่นิ่งนอนใจพยายามวิเคราะห์หาแนวทางอื่นในการแก้ไขปัญหา หากสูตรสำเร็จรูปเกิดไม่สำเร็จเป็นรูปขึ้นมาจะได้มีสูตรสอง สาม สี่ รองรับแก้ปัญหา" ชินภัทรกล่าว

ล่าสุด จาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้เสนอแนวคิดที่สอง โดยจะแก้ไขปัญหาครูกระจุกตัวอยู่ให้กระจายออกไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลนครู โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีครูกระจุกตัวอยู่มาก ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในภาวะขาดแคลนครูอย่างหนัก โรงเรียนชนบทบางโรงเรียนมีครูไม่พอ จึงเสนอให้มีการปรับแก้หลักเกณฑ์การโยกย้ายของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน เปิดช่องให้กระทรวงศึกษาธิการเข้าไปบริหารจัดการครูได้อย่างเต็มที่

เพราะหลักเกณฑ์ต่างๆ ทำให้การจัดการเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรครูให้ลงตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงปัญหาครูที่มีอยู่ส่วนใหญ่สอนไม่ตรงกับวิชาที่ตนเองจบการศึกษาเพิ่มมาเป็นปัญหาซ้ำซ้อน จึงต้องมีการเกลี่ยเฉลี่ยแบ่งให้เท่าและทั่วถึงในทุกพื้นที่

แนวคิดนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายฝ่ายที่บอกว่าความจริงเราอาจไม่ได้ขาดครูจนถึงขั้นวิกฤต

เพียงแต่กระจุกอุดตันอยู่เท่านั้น

แต่ก็มีเสียงเตือนจากนักวิชาการให้ระวังเสียงต้านจากครูบางส่วนเพราะที่ไปอุดตันกันอยู่ตามโรงเรียนดังจังหวัดใหญ่เป็นเพราะปัญหา "เส้นสาย" ที่พัวพันบังตา ใครอยากอยู่ไหนก็ได้อยู่ ครูจึงไปอยู่รวมกันตามที่ดีๆ อยากสบายไม่ต้องลำบาก

ดังนั้นต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วยอีกเรื่องหนึ่ง


โดย สรวิศ รุ่งเลิศมณีพงศ์

ที่มา : นสพ.มติชน

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรม


ครม. เห็นชอบระเบียบการใช้ตัวสะกด ตามพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน
วันนี้ (30 เม.ย.)ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ได้เห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด โดยกำหนดให้ใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เป็นแบบมาตรฐานสำหรับหน่วยราชการ สถานศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน โดยพจนานุกรมฉบับนี้ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการชำระพจนานุกรม โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำศัพท์ทั่วไป ซึ่งเป็นคำที่มีใช้ในภาษาไทย และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แต่ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรม รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามของคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ ศัพท์กฎหมายไทย ศัพท์ประวัติศาสตร์ไทย ศัพท์พรรณพืชและพรรณสัตว์ ศัพท์ดนตรีไทย ศัพท์ดนตรีสากล และราชาศัพท์ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ๆ และที่สำคัญ ได้มีการเก็บคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการพัฒนาเรื่องดิน น้ำ และป่าไม้ ประกอบด้วยคำว่า กังหันน้ำชัยพัฒนา แกล้งดิน แก้มลิง ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง โครงการตามพระราชดำริ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการพระดาบส โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา รวมทั้งเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในปัจจุบัน
ร.ท.หญิง สุณิสา กล่าวต่อว่า สำหรับความเป็นมาของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 นั้น ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นในปี 2554 เนื่องจากเป็นปีมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์ และแจกจ่ายไปยังสถาบันการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งยังแจกจ่ายให้ สถาบันศาสนา หน่วยงานราชการ ตลอดจนคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และสื่อมวลชน ให้ใช้อ้างอิงเป็นมาตรฐานของการเขียนหนังสือไทย.

เปิดรับสมัครสอบครูผู้ช่วย

สพฐ. เปิดรับสมัครสอบครูผู้ช่วย ประกาศเขตพื้นที่/ตำแหน่งว่าง รับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ทั่วประเทศ จำนวน 82 เขต 35 เอก 724 อัตรา (29 เม.ย. – 5 พ.ค. 2556)
**รายละเอียด» http://www.งานราชการเปิดสอบวันนี้.com/?p=7751 หรือ http://129jump.blogspot.com/2013/04/82-35-724-29-5-2556.html

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเดินทางไกลลูกเสือสำรอง ปีการศึกษา 2555

กำหนดการจัดกิจกรรม

กิจกรรมเดินทางไกล-สำรวจธรรมชาติศึกษา ลูกเสือสำรอง ประจำปีการศึกษา 2555
วันศุกร์ที่  22  เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ.2556

เวลา
กิจกรรม

- 09.00 .
- 09.30 .

- 11.45 .
- 12.15 .
- 13.30 .
- 14.00 .          

เปิดประชุมกอง
เดินทางไกล  สะกดรอย  สำรวจธรรมชาติ  ทดสอบสมรรถภาพตาม
 จุดต่าง ๆ  /ทดสอบตามฐาน
ประกอบอาหารกลางวัน
รับประทานอาหารกลางวัน
กิจกรรมนันทนาการ/การแสดง/เกมเพลง
ปิดประชุมกอง







วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข่าวประชาสัมพันธ์

คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์ มีความยินดีขอเรียนเชิณร่วม
เป็นเกียรติในงานบายศรีเลี้ยงส่งครูพัชนีย์  ดวงมณี ในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบ้าน
โนนสูง อำเภอขุนหาญ ในวันที่ 14  กุมภาพันธ์  2556  ณ  อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์

ข่าวประชาสัมพันธ์

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

กำหนดการสอบ

  • O-Net  ป.6  สอบวันที่ 2 ก.พ. 56
  • O-Net  ม.3  สอบวันที่ 2 -3 ก.พ. 56
  • NT ป.3 สอบวันที่  21  ก.พ. 56
  • LAS ป.1 ป.2ป.4ป.5 ม.1ม.2  สอบวันที่   6 มี.ค.56
  • LAS   ม.1ม.2  สอบวันที่ 6 มี.ค.56

สพป.ศก.4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย

สพป.ศก.4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 24  อัตรา รายงานตัว 10 ก.พ.56  ตามรายละเอียดดังนี้

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การนัดประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

 

  
  
 คอลัมน์: สถานี ก.ค.ศ.: การนัดประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
          
                สถานี ก.ค.ศ. ในวันนี้มีกรณีการวินิจฉัยข้อหารืออำนาจนัดประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้มีการปฏิบัติโดยถูกต้อง ดังนี้
          ความเป็นมาของกรณีนี้คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอให้พิจารณาข้อหารือว่า อำนาจเรียกประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นของผู้ใด และในกรณีที่มีเหตุความจำเป็นเร่งด่วนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นเลขานุการ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจนัดประชุมโดยไม่รอคำสั่งอนุมัติจัดประชุมจากประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ได้หรือไม่และจะมีผลต่อมติของที่ประชุมหรือไม่ อย่างไร ซึ่ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พิจารณาวินิจฉัยข้อหารือแล้วเห็นว่า เมื่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 รวมทั้งระเบียบหรือข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการประชุมของคณะอนุกรรมการ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา แต่อย่างใด จึงต้องนำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ในเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประชุมมาใช้บังคับ ดังนั้น พิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นว่า อำนาจเรียกให้มีการประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เป็นอำนาจของประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่บัญญัติว่า "การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ และแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการนั้นจะได้ทราบการบอกนัดในที่ประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวจะทำหนังสือแจ้งนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ได้มาประชุมก็ได้" และมาตรา 80 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า "บทบัญญัติในวรรคสองมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งประธานกรรมการจะนัดประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้" 
          จากบทบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นัดประชุมโดยอ้างเหตุจำเป็นเร่งด่วน โดยไม่รอให้มีคำสั่งอนุมัติจัดประชุมจากประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จึงเป็นการนัดประชุมโดยผู้ไม่มีอำนาจในการประชุมตามกฎหมาย เนื่องจากอำนาจในการพิจารณาว่าปัญหามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเรียกประชุมหรือไม่ เป็นอำนาจของประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ผลหรือมติของการประชุมที่เกิดจากการประชุม ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการประชุม โดยไม่รอให้มีคำสั่งอนุมัติจัดประชุมจากประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
          จากกรณีการวินิจฉัยข้อหารือดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การดำเนินการใดๆ จำต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามบทกฎหมาย รวมทั้งระเบียบหรือข้อบังคับที่ออกตามบทกฎหมายนั้นๆ เพื่อจะได้ลดปัญหาการร้องเรียน การฟ้องเป็นคดีต่อศาล จะเป็นการดีที่สุด
         
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
 
 
 
 ภาพเพิ่มเติม
ไม่มีความเห็น