วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียกบรรจุรอบ 3 เพิ่มเติม

                              1.เอกภาษาไทย-โรงเรียนสำโรงเกียรติ   (ที่11)
                              ๒.Com-โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์  ( ที่9)
                              ๓.อังกฤษ-โรงเรียนหนองขนาน (ที่ 11)
      เอกคอมพิวเตอร์  ลำดับที่ 9 นายอรรถสิทธิ์  อำนวย บรรจุที่ป่าไม้ครับ โปรดแจ้งโรงเรียนโทรสอบถามมาคุยได้ที่   0856824899 ตลอดเวลาครับ

กิจกรรมปลูกเห็ดนางฟ้า นางรม





กิจกรรมเลี้ยงนกกระทา

กิจกรรมเลี้ยงนกกระทาตามโครงการยุวเกษตรกรในโรงเรียนได้รับสนันสนุนโดย  สำนักงาน สสค.

วงโปงลางหมู่บ้านป่าไม้ฯ


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บุคลากรโรงเรียน

เปิดหน้ายางพารา

โรงเรียนได้เปิดหน้ายางแล้ว นำโดยนายสัมพัทธ์  ศรีสุข นายบันลือศักดิ์  ปลื้มใจ  นายวีระ ชนะราวี
เจ้าของโครงการปลูกยางพารา

ส่งครูย้าย -ต้อนรับครูใหม่

นางสาวละออ งามฉวี ย้ายไปโรงเรียนบ้านเดื่อ ต้อนรับครูบรรจุใหม่ นายธวัชชัย  โพธิ์กิ่ง นายทองสุข จันทร์พรม ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านตาเอก นางสาวทัศนีย์ ชูคำ ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านปราสาท ขุขันธ์

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตัวแทนนักกีฬาระดับอำเภอไปแข่งกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ









โรงเรียนได้เป็นตัวแทน  26  รายการ เข้าร่มแข่งขันกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้จัดการทีม นายสัมพัทธ์  ศรีสุข   โค้ชอ๊อด ชัยสิทธิ์  พวงมาลัย  ครูกุ๊ก วีระ ชนะราวี  ครูแอ๊ป สุทธวีร์  ศรีสุข และโค้ชนรเดช จันทร์น้อย

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมวันแม่

โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์  จัดกิจกรรมวันแม่ 12 สิงหา  มหาราชินี  นำโดย นายสัมพัทธ์ ศรีสุข ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน  บุคลากรทางการศึกษา ร่วมงานพิธีลงนามถวายพระพร และพิธีถวายพระพรชัยมงคล  และร่วมกับชุมชน หน่วยงาน องค์กรในท้องถิ่น บำเพ็ญประโยชน์ กวาด ทำความสะอาด ถนนสายห้วยจันทน์ -หนองผือ และได้ปล่อยปลาลงสระโรงเรียนจำนวน 10,000 ตัว






นักเรียนที่ผ่านการอบรมการเลี้ยงปลา ได้รับใบประกาศจาก อบต. ห้วยจันทน์

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงการยุวเกษตรกรในโรงเรียน


ความสำคัญของปัญหา
 อีก 10 ปีข้างหน้าจะไม่มีชาวนา ( จากเกษตรกรดีเด่นท่านหนึ่ง ในวันรับรางวัลพระราชทานเนื่องใน
วันพืชมงคล ปี 2554 )นักศึกษาไทยเมินเรียนวิชาเกษตร ( จากหนังสือพิมพ์มติชน )
อัตรา ครู อาจารย์ ต่อนักเรียนในสถาบันการเกษตรมีจำนวน 1:1 และนักศึกษาที่ศึกษานั้นมา
จากประเทศกัมพูชา และลาว ( สถาบันเทคโนโลยีเกษตรกรรมบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )
ถ้าอยากทำนาทำไร่จะมาเรียนมหาวิทยาลัยทำไม? ( คำพูดของนักศึกษา )จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์การเกษตรพบว่า คนที่มีอาชีพเกษตรกรรมคือคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป  แล้วคนหนุ่มสาวหาย
ไปไหน ? ข้าวที่เรากินอยู่นี้ คนแก่ทำให้กินใช่หรือไม่?
            การศึกษาไทยมุ่งเน้นที่คะแนน O-net  NT จนทำให้ครูเครียด
            สังคมไทยเป็นสังคมที่คนมีความรู้มากแต่คนความสามารถน้อย 
แล้วเราจะแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไร?
            โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์  ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษาแก่เยาวชนไทย
ขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการจัดทำโครงการยุวเกษตรในโรงเรียนเพื่อช่วยอนุรักษ์อาชีพการเกษตร
และเสริมสร้างให้เกิดภูมิปัญญาทางการเกษตร ปลูกฝังจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่ออาชีพการเกษตร โดยนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างให้นักเรียน ผู้ปกครองและ
ชุมชนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป




(2) เป้าประสงค์
-  เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มให้กับนักเรียน
-  เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
-  เพื่อสร้างผลผลิตซึ่งมุ่งเน้นการผลิตแบบพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้
-  เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นไทยให้นักเรียนมุ่งหาคำตอบในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล

(3) วัตถุประสงค์
-  นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  จำนวน  88  คน ได้ฝึกปฏิบัติตามกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
-  นักเรียนสามารถปฏิบัติ  คิด  กระทำ  และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
-  ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน  88  คนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกกิจกรรม

(4) กลุ่มเป้าหมาย และจำนวนผู้ได้รับประโยชน์
 -  นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  จำนวน  88  คน สมัครเข้าเป็นสมาชิกร่วมโครงการ
-  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  จำนวน  22  คน เป็นที่ปรึกษาในแต่ละกิจกรรม
-  ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน  88  คนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

(5) พื้นที่ดำเนินงาน
 โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์ ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ   

(6) ระยะเวลาโครงการ
   1  พฤศจิกายน  2554  - 31 ตุลาคม  2555 

กิจกรรม
เวลาดำเนินการ
งบประมาณ
ผลผลิต
กิจกรรมการเพาะเห็ด นางฟ้า นางรม
 (กิจกรรมใหม่)
1 พ.ย. 54 – 31 ต.ค. 55
42,430

กิจกรรมงานประดิษฐ์
 (กิจกรรมใหม่)
1 ม.ค. 55 – 31 มี.ค. 55
9,000

กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักจากมูลนกกระทา และเศษวัสดุต่างๆ
 (กิจกรรมใหม่)
1 มิ.ย. 55 - 30 มิ.ย. 55
5,500

กิจกรรมการเลี้ยงนกกระทาเพื่ออาหารกลางวันและทำปุ๋ยหมัก
(กิจกรรมใหม่)
1 พ.ย. 54 – 31 ต.ค. 55
23,300

กิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์
 (กิจกรรมต่อเนื่อง)
1 พ.ย. 54 – 31 ต.ค. 55
92,000


(9) งบประมาณ
 รวมงบประมาณที่ขอ 172,230 บาท  (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันสองร้อยสามสิบบาทถ้วน)
รายละเอียดงบประมาณดังแนบท้าย


(10) การบริหารจัดการ
เนื่องจากโครงการยุวเกษตรกร มีหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์จริงจากการทำงาน  ซึ่งมีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
-  ครูผู้รับผิดชอบและที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรมเสนอโครงการย่อยในแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการ
-  ผู้บริหารอนุมัติโครงการ
-  ครูที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรมประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
-  นักเรียนเริ่มดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมตามโครงการ  โดยมีครูให้คำแนะนำ
-  เมื่อสิ้นสุกระยะเวลาดำเนินการของแต่ละกิจกรรมก็สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารและทำการเผยแพร่ต่อไป  ตลอดจนดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
-  มีการส่งกิจกรรมวงดนตรีโปงลาง  และกิจกรรมนาฏศิลป์เข้าประกวดในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานและสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน และให้เกิดความยั่งยืนของกิจกรรม

ชมภาพวิดีโอเพิ่มเติม