วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงการยุวเกษตรกรในโรงเรียน


ความสำคัญของปัญหา
 อีก 10 ปีข้างหน้าจะไม่มีชาวนา ( จากเกษตรกรดีเด่นท่านหนึ่ง ในวันรับรางวัลพระราชทานเนื่องใน
วันพืชมงคล ปี 2554 )นักศึกษาไทยเมินเรียนวิชาเกษตร ( จากหนังสือพิมพ์มติชน )
อัตรา ครู อาจารย์ ต่อนักเรียนในสถาบันการเกษตรมีจำนวน 1:1 และนักศึกษาที่ศึกษานั้นมา
จากประเทศกัมพูชา และลาว ( สถาบันเทคโนโลยีเกษตรกรรมบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )
ถ้าอยากทำนาทำไร่จะมาเรียนมหาวิทยาลัยทำไม? ( คำพูดของนักศึกษา )จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์การเกษตรพบว่า คนที่มีอาชีพเกษตรกรรมคือคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป  แล้วคนหนุ่มสาวหาย
ไปไหน ? ข้าวที่เรากินอยู่นี้ คนแก่ทำให้กินใช่หรือไม่?
            การศึกษาไทยมุ่งเน้นที่คะแนน O-net  NT จนทำให้ครูเครียด
            สังคมไทยเป็นสังคมที่คนมีความรู้มากแต่คนความสามารถน้อย 
แล้วเราจะแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไร?
            โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์  ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษาแก่เยาวชนไทย
ขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการจัดทำโครงการยุวเกษตรในโรงเรียนเพื่อช่วยอนุรักษ์อาชีพการเกษตร
และเสริมสร้างให้เกิดภูมิปัญญาทางการเกษตร ปลูกฝังจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่ออาชีพการเกษตร โดยนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างให้นักเรียน ผู้ปกครองและ
ชุมชนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป




(2) เป้าประสงค์
-  เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มให้กับนักเรียน
-  เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
-  เพื่อสร้างผลผลิตซึ่งมุ่งเน้นการผลิตแบบพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้
-  เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นไทยให้นักเรียนมุ่งหาคำตอบในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล

(3) วัตถุประสงค์
-  นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  จำนวน  88  คน ได้ฝึกปฏิบัติตามกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
-  นักเรียนสามารถปฏิบัติ  คิด  กระทำ  และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
-  ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน  88  คนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกกิจกรรม

(4) กลุ่มเป้าหมาย และจำนวนผู้ได้รับประโยชน์
 -  นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  จำนวน  88  คน สมัครเข้าเป็นสมาชิกร่วมโครงการ
-  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  จำนวน  22  คน เป็นที่ปรึกษาในแต่ละกิจกรรม
-  ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน  88  คนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

(5) พื้นที่ดำเนินงาน
 โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์ ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ   

(6) ระยะเวลาโครงการ
   1  พฤศจิกายน  2554  - 31 ตุลาคม  2555 

กิจกรรม
เวลาดำเนินการ
งบประมาณ
ผลผลิต
กิจกรรมการเพาะเห็ด นางฟ้า นางรม
 (กิจกรรมใหม่)
1 พ.ย. 54 – 31 ต.ค. 55
42,430

กิจกรรมงานประดิษฐ์
 (กิจกรรมใหม่)
1 ม.ค. 55 – 31 มี.ค. 55
9,000

กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักจากมูลนกกระทา และเศษวัสดุต่างๆ
 (กิจกรรมใหม่)
1 มิ.ย. 55 - 30 มิ.ย. 55
5,500

กิจกรรมการเลี้ยงนกกระทาเพื่ออาหารกลางวันและทำปุ๋ยหมัก
(กิจกรรมใหม่)
1 พ.ย. 54 – 31 ต.ค. 55
23,300

กิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์
 (กิจกรรมต่อเนื่อง)
1 พ.ย. 54 – 31 ต.ค. 55
92,000


(9) งบประมาณ
 รวมงบประมาณที่ขอ 172,230 บาท  (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันสองร้อยสามสิบบาทถ้วน)
รายละเอียดงบประมาณดังแนบท้าย


(10) การบริหารจัดการ
เนื่องจากโครงการยุวเกษตรกร มีหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์จริงจากการทำงาน  ซึ่งมีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
-  ครูผู้รับผิดชอบและที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรมเสนอโครงการย่อยในแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการ
-  ผู้บริหารอนุมัติโครงการ
-  ครูที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรมประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
-  นักเรียนเริ่มดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมตามโครงการ  โดยมีครูให้คำแนะนำ
-  เมื่อสิ้นสุกระยะเวลาดำเนินการของแต่ละกิจกรรมก็สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารและทำการเผยแพร่ต่อไป  ตลอดจนดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
-  มีการส่งกิจกรรมวงดนตรีโปงลาง  และกิจกรรมนาฏศิลป์เข้าประกวดในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานและสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน และให้เกิดความยั่งยืนของกิจกรรม

ชมภาพวิดีโอเพิ่มเติม

การเดินรณรงค์ไข้เลือดออก/ฉี่หนู

โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ห้วยจันทน์ได้ร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์ไข้เลือดออกและโรคฉี่หนู ร่วมกับโรงพยาบาลตำบลห้วยจันทน์และอสมตำบลห้วยจันทน์เพื่อให้ความรู้และป้องกันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคฉี่หนูในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามหมู่บ้านวัดและโรงเรียน